ติดต่อเรา

5 checklist ที่ต้องพิจารณาสำหรับการเลือกซื้อ เม็ดพลาสติกรีไซเคิล


5 checklist ที่ต้องพิจารณา สำหรับเลือกซื้อ เม็ด พลาสติก รีไซเคิล คือ
  • ราคา
  • สเปคที่เราต้องการ
  • ความต่อเนื่องของวัตถุดิบ
  • คุณภาพ และ
  • สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาได้

ข้อที่ 1. ราคา

เราคงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า วัตถุประสงค์หลักๆ ของการใช้วัตถุดิบเม็ดพลาสติกรีไซเคิล คือ การประหยัดต้นทุนวัตถุดิบเม็ดพลาสติก จากการใช้งานเม็ดพลาสติก virgin หรือ ที่เรานิยมเรียกกันติดปากว่า เม็ดใหม่นั่นเอง

เพราะฉะนั้น เรื่องราคาจึงเป็น ปัจจัยอันดับแรกที่เราต้องพิจารณาในการเลือกซื้อเม็ดพลาสติกรีไซเคิ้ล… ซึ่งแน่นอนครับเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่เราจะเลือกใช้ ต้องถูกกว่าเม็ด virgin ที่มี spec เดียวกัน หรือ ใกล้เคียงกัน อย่างมีนัยยะสำคัญ

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผมนั้น ราคาของเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ที่เราจะเลือกใช้งานนั้น ควรจะมีราคาที่ถูกกว่าเม็ด virgin อย่างต่ำๆ 15-30%… ถามว่าทำไมเราต้องใช้เกณฑ์นี้ในการพิจารณา

เราต้องไม่ลืมว่าการใช้งานเม็ดพลาสติกรีไซเคิล จะมีความยุ่งยากที่มากกว่าการใช้เม็ด virgin เช่น การปรับแต่งการทำงานของเครื่องจักร, การปรับปรุงคุณภาพโดยใช้สารเติมแต่งพลาสติก จำพวกแม่สี หรือสารปรับปรุงคุณภาพและอื่นๆ… 

สิ่งต่างๆที่กล่าวมานี้ ล้วนแต่คือ เวลาและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมา ดังนั้นจึงเป็นที่มาของ ราคาที่ควรจะถูกกว่า 15-30% นั่นเองครับ


ข้อที่ 2. สเปคของชิ้นงานที่ต้องการผลิต

ก่อนที่เราจะผลิต หรือขึ้นรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกใดๆ แน่นอนครับ เรื่องสเปค หรือคุณสมบัติที่ต้องการ ของชิ้นงาน เป็นปัจจัยข้อแรกที่เราต้องพิจารณา และกำหนดเป็นโจทย์เอาไว้

ซึ่งโจทย์นี้เองที่เราจะนำมาใช้ในพิจารณาเลือกหาวัตถุดิบเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ที่ใช้ในการผลิต

โดยส่วนมากแล้ว สเปคหรือคุณสมบัติที่ต้องการของชิ้นงานพลาสติก หลักๆแล้วมีดังนี้

2.1 สี

เราต้องลองพิจารณาดูว่าสีของผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เราต้องการนั้นต้องการความเข้มงวดหรือ strict ขนาดไหน อย่างเช่นถ้ากรณีที่ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เราต้องการขึ้นรูปนั้นเป็นสีใส และยิ่งถ้าต้องการความใสมากๆชนิดที่ใสปิ๊งๆ ในกรณีนี้เราต้องรับรู้ไว้เลยว่า จะมีข้อจำกัดในการเลือกใช้วัตถุดิบเม็ดพลาสติกรีไซเคิล เพราะในการที่นำวัตถุดิบพลาสติกสีใส นำกลับมาผลิตใหม่ๆนั้น สีใสของเม็ดพลาสติกที่ได้ จะมีความขุ่นและออกเป็นสีเหลืองมากขึ้น… ถ้าเรายอมรับเงื่อนไขตรงนี้ไม่ได้แล้ว การใช้งานเม็ดพลาสติกรีไซเคิล อาจจะยังไม่เหมาะ และมีความจำเป็นที่จะยังคงต้องใช้งานเม็ดพลาสติก virgin เป็นวัตถุดิบอยู่

แต่ในทางกลับกัน ถ้าชิ้นงานพลาสติกของเรา เป็นสีต่างๆเช่น ดำ แดง น้ำเงิน เหลือง หรือ เขียว เรามีแนวโน้มที่จะคลายความกังวลเกี่ยวกับสีไปได้มากพอสมควร เพียงแต่เราต้องเน้นย้ำทางผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ให้ควบคุมคุณภาพหรือความเหมือนกันของสีในแต่ละ ล๊อตการผลิตในใกล้เคียงกันมากที่สุด เพื่อที่จะได้ลดความยุ่งยากในการผลิต หรือในกรณีที่บางโรงงานขึ้นรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกมีความรู้เกี่ยวกับการผสมสี หรือ match สีเอง ก็อาจจะทำการผสมแม่สีในขั้นตอนการขึ้นรูปเองก็ได้

2.2 ความหนาบางของชิ้นงาน

ปัจจัยของเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่จะต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมาก ที่เกี่ยวกับความหนาบางของชิ้นงานพลาสติก นั่นคือ ดัชนีอัตราการไหล (Melt Flow Index : MFI)  ซึ่งในกรณีที่ชิ้นงานของเรามีความบางและมีขนาดใหญ่พอสมควรแล้ว เรามีความจำเป็นต้องเลือกใช้ เม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่มีค่า MFI สูงๆเพราะมีความจำเป็นที่เม็ดพลาสติกเมื่อได้รับความร้อนจนหลอมละลายแล้วจะต้องไหลด้วยความรวดเร็วเพื่อให้พลาสติกหลอมเหลวไหลได้ทั่วแม่พิมพ์… ในทางกลับกันถ้าหากชิ้นงานที่เราต้องการผลิต มีความหนาทีมาก เราก็จำเป็นต้องเลือกเม็ดพลาสติกที่ไม่หนืดมากเกินไป เพื่อที่จะไม่กินกำลังงานของเครื่องมากจนเกินไป และช่วยลดเวลาของรอบการผลิต (cycle time) ได้อีกด้วย

ดังนั้น เพื่อให้เราสามารถพิจารณาเลือกอัตราการไหลของเม็ดพลาสติกรีไซเคิลได้อย่างเหมาะสมแล้วล่ะก็ เรามีความจำเป็นต้องทราบอัตราการไหล หรือ MFI จากผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ในทุกๆครั้งของการสั่งซื้อ

2.3 การรับแรงกระแทก

ผลิตภัณฑ์พลาสติกบางชนิดมีความต้องการ ความทนทานต่อแรงกระแทก (Impact Strength) อาทิเช่น กล่อง/ลังต่าง, ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นฐานรองในการรับน้ำหนักหรือแรงกระทำอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น… ดังนั้นในการพิจารณาเลือกซื้อเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่ใช้กับงานรับแรงจำพวกนี้ เราจึงควรพิจารณาจากคุณสมบัติของพลาสติกที่เรียกว่า ค่า Impact Strength

ซึ่งในการวัดค่าของ Imapact Strength นั้น จะสามารถวัดได้ 2 แบบ คือ แบบ IZOD และ CHARPY ซึ่งจะมีการจัดวางตำแหน่งของชิ้น sample ในการรับแรงตอนที่ทดสอบแตกต่างกัน   และการทดสอบยังสามารถจำแนกได้อีก 2 แบบแยกย่อยลงไปอีก คือ การทดสอบแบบมีการบากร่องที่ ชิ้นงาน sample(แบบ notched) และแบบธรรมดาที่ไม่มีการบาก

ดังนั้นก่อนจะสั่งซื้อพลาสติกรีไซเคิลจากเจ้าใด เราควรแจ้งความต้องการที่เกี่ยวกับ ค่า Impact Strength และควรมีการตรวจสอบกับ ซัพพลายเออร์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาคุณภาพการผลิตให้กับชิ้นงานพลาสติกของเรา

2.4 ความแข็งที่ผิวของชิ้นงาน

ค่า Hardness หรือค่าความแข็งของพลาสติก คือ ความสามารถในการต้านทานการขีดข่วนหรือการที่มีแรงกระทำกดลงไปที่ผิวของพลาสติก สำหรัยมาตรฐานของการวัดค่า Hardness นั้นที่นิยมใช้กันบ่อยๆจะมีอยู่ด้วยกัน 2 มาตรฐาน คือ แบบ Rockwell และแบบ Shore Durometer

ในส่วนของชิ้นงานพลาสติกที่ต้องคำถึงถึงค่า Hardness นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นชิ้นงานที่ ต้องการความแข็งแรงและความคงรูปของผิวชิ้นงาน เช่น งานชิ้นส่วนพลาสติกของรถยนต์  ชิ้นส่วนพลาสติกของเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือจะเป็นชิ้นส่วนของวัสดุต่างๆที่ต้องสัมผัสโดยตรงกับผู้ใช้งาน

2.5 ความต้านทานการบิดตัว/ยืดออก หรือโค้งงอของชิ้นงาน

ชิ้นงานพลาสติกบางประเภทจะถูกใช้งานในลักษณะของการรับแรงในลักษณะที่มากกว่า 1 ทิศทาง หรือ จะให้อธิบายอย่างง่ายๆ คือ การมีแรงบิด หรือแรงเค้นมากระทำกับชิ้นงานนั่นเอง …และโดยส่สนมากจะเป็นชิ้นงานที่มีความหนาของชิ้นงานไม่มาก อาทิเช่น ถาดพลาสติก, พาเลทพลาสติด, ชิ้นส่วนพลาสติกที่ใช้ในรถยนต์, ชิ้นส่วนพลาสติกในเครื่องใช้ไฟฟ้า, เก้าอี้พลาสติก, โต๊ะพลาสติก หรือจำพวกข้าวของเครื่องใช้ในบ้านที่เป็นพลาสติกเป็นต้น

ซึ่งในการพิจารณาความแข็งแรงของชิ้นงานพลาสติกในแง่ของการบิดตัว การยืดออก หรือการโค้งงอของชิ้นงานพลาสติกนั้น เราจะดูจากคุณสมบัติของพลาสติก ได้แค่ ค่า Tensile Strength, ค่า Elongation และค่า Modulus นั่นเองครับ

ดังนั้นในฐานะของฝ่ายจัดซื้อหรือเจ้าของกิจการ เราควรพิจารณาคุณสมบัติเหล่านี้ กับทางฝ่ายผลิต ฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือลูกค้า ให้แน่ชัด เพื่อที่เราจะได้เลือกซื้อวัตถุดิบเม็ดพลาสติกรีไซเคิลได้ตรงกับการใช้งานได้อย่างไม่ผิดพลาดครับ


ข้อที่ 3. ความต่อเนื่องการส่งมอบวัตถุดิบ

ในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ อุปทานของเศษพลาสติกรีไซเคิลในประเทศไทย เริ่มมีการตึงตัวเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามากว้านซื้อของต่างชาติ การทยอยปิดตัวลงเนื่องจากการย้ายฐานการผลิต ของโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพลาสติก หรืออาจจะเป็นการที่โรงงานนำเศษพลาสติกกลับไปใช้เอง 

ปัจจัยต่างๆที่กล่าวมานี้ เป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้อุปทานทางด้านวัตถุดิบพลาสติกรีไซเคิลในไทย เกิดการขาดแลน และนับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

ปัจจัยต่างๆที่กล่าวมานี้ เป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้อุปทานทางด้านวัตถุดิบพลาสติกรีไซเคิลในไทย เกิดการขาดแลน และนับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้นก่อนที่จะสั่งซื้อเม็ดพลาสติกรีไซเคิล กับซัพพลายเออร์เจ้าใด เราควรจะคำนึงถึงปัจจัยเรื่องความต่อเนื่องของในการซัพพลายเม็ดพลาสติกรีไซเคิล นี้ให้มาก เพื่อที่จะไม่ต้องมาเป็นปัญหากับกระบวนการจัดหาวัตถุดิบและกระบวนการผลิตในภายหลัง


ข้อที่ 4. คุณภาพ

หลังจากที่เราได้สเปคความต้องการของชิ้นงานพลาสติก ที่เราต้องการผลิตเรียบร้อยแล้ว  แน่นอนครับ มันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เราจะต้องจัดซื้อเม็ดพลาสติดรีไซเคิล ที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการในการใช้งานของเรา…

ในเรื่องการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของเม็ดพลาสติกรีไซเคิลนั้น จะเป็นการทำงานของทั้งสองฝั่ง คือ ฝั่งผู้ผลิต และฝั่งผู้ใช้งาน  กล่าวคือ

ทางฝั่งผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล – การผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลสมัยใหม่นั้น จะมึการนำเครื่องมือทดสอบคุณสมบัติพลาสติก อาทิเช่น เครื่องวัดอัตราการไหลของพลาสติก (Melt Flow Indexer), เครื่องวัดความหนาแน่น/ความถ่วงจำเพาะ, เครื่องเทียบสี, เครื่องวัดความแข็งผิว(Hardness), เครื่องวัด Tensile Strength / Elongation (Universal Tester), เครื่องวัดการรับแรงกระแทก (Impact Tester), เครื่องการรับแรงกระแทกแบบฉับพลัน (Droptester), เครื่องวิเคราะห์การเสียรูปของพลาสติกเนื่องจากความร้อน (HDT), เครื่องวิเคราะห์สารประกอบในพลาสติก เป็นต้น

ซึ่งในปัจจุบันนี้ เครื่องมือวัดเหล่านี้ เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในการใช้งาน เป็นเครื่องชี้วัดและควบคุมคุณภาพของเม็ดพลาสติกรีไซเคิล เพื่อตอบสนาองความต้องการใช้งานที่ซับซ้อนขึ้นเป็นอย่างมากของพลาสติกรีไซเคิล

ดังนั้น ก่อนที่จะสั่งซื้อเม็ดพลาสติกรีไซเคิล จาก ซัพพลายเออร์เจ้าใด เราควรจะสอบถามทางผู้ผลิตเกี่ยวกับกระบวนการในการควบคุมคุณภาพ ของการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล และเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุม และถ้าเป็นไปได้และเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเลยคือ การที่เราสามารถไป visit ดูการผลิตและการควบคุมคุณภาพในการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ของทางซัพพลายเออร์นั่นเองครับ

ทางฝั่งผู้ใช้งานเม็ดพลาสติกรีไซเคิล – ในส่วนของทางฝั่งผู้ใช้งานนั้น เราจำเป็นที่จะต้องวางแผนการตรวจสอบคุณภาพเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ที่ได้รับมาจากซัพพลายเออร์  ทั้งในส่วนของเครื่องไม่เครื่องมือที่จะใช้ทดสอบ, กระบวนการในการทดสอบ เพื่อให้เรามั่นใจได้ว่า เม็ดพลาสติกที่เราจะใช้ในมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการใช้งานขึ้นรูปผลิตภัณฑ์พลาสติก ของเราจริงๆ

และอีก ประเด็นหนึ่งที่ไม่สามารถละเลยไปได้เลยคือ เมื่อเกิดเหตุการณ์ ที่เม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่สั่งซื้อมานั้น ไม่ได้มีคุณภาพหรือ คุณสมบัติตรงตามความต้องการใช้งานแล้ว ทั้งทางฝั่งผู้ใช้ งานและทาลฝั่งผู้ผลิต จะมีแนวทางที่เป็นมาตรฐานในการร่วมมือกันแก้ไขอย่างไร เพื่อให้ทางฝั่งผู้ผลิตชิ้นงานสามารถดำเนินการผลิตต่อไปได้อย่างไม่ติดขัด และทางฝั่งผู้ผลิตเม็ดรีไซเคิล ได้มีเวลาแก้ไขหรือผลิตเม็ดพลาสติกขึ้นมาใหม่… ซึ่งการวางแผนในประเด็นนี้ควรจะมีการวางแผนกันล่วงหน้าเอาไว้ก่อน เพราะบาวครั้งบางคราว ถึงแม้ว่าเราจะพยายามควบคุมทุกๆอย่างๆให้ตามมาตรฐานแล้วก็ตาม แต่ข้อผิดพลาด ก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ อย่าว่าแต่เม็ดพลาสติกรีไซเคิลเลยครับ บางทีเม็ดพลาสติก virgin เอง ก็ยังเคยเกิดปัญหาเช่นนี้อยู่บ้างเหมือนกัน


ข้อที่ 5. การตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบพลาสติกรีไซเคิล(Traceability)

กระบวนการตรวจสอบย้อนถึงแหล่งที่มาของพลาสติกรีไซเคิลนั้น เป็นเรื่องที่ใหม่มากๆสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิลในเมืองไทย ผมกล้าพูดเลยว่า สำหรับหลายๆท่านแล้ว อาจจะไม่เคยได้ยิน หรือรู้จักคำๆนี้เลยด้วยซ้ำไป… แต่ถ้าหากคุณเป็นผู้ผลิตหรือทำงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พลาสติก ที่ต้องการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์พลาสติกของคุณ จากการใช้วัตถุดิบพลาสติกรีไซเคิลแล้วละก็ คุณมีความจำเป็นที่จะต้องรู้เรื่องนี้ครับ!!!

ก่อนที่จะอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับหรือTraceability นั้น ผมขออธิบายท้าวความไปที่เรื่องของ circular economy กับผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบสั้นๆก่อนนะครับ… แนวคิดของ circular economy คือ การนำผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้แล้ว นำมากลับมาใช้ซ้ำหรือนำมาเป็นส่วนประกอบในการผลิต ผลิตภัณฑ์พลาสติกชิ้นใหม่ ซึ่งในขั้นตอนของกระบวนการที่วนนำกลับมาใช้ใหม่นั้น ควรจะต้องมีมาตรฐานที่สามารถระบุถึงข้อมูลทางด้านผลิตภัณฑ์ อาทิเช่นประเภทของผลิตภัณฑ์พลาสติกที่นำมารีไซเคิล, แหล่งที่มา หรือปริมาณของพลาสติกรีไซเคิลที่นำกลับมาผสมลงไปในผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นต้น… ซึ่งข้อมูลตรงนี้เองที่เราเรียกกันว่า การตรวจสอบย้อนกลับ หรือ tracebility นั่นเองครับ

สำหรับในประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น เขาตื่นตัวและให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้มากๆเลยครับ  เพราะ circular economy มันหมายถึงการตื่นตัวทางด้านสิ่งแวดล้อมในแง่ของการ ลดปริมาณขยะพลาสติกที่จะถูกทิ้งลงทะเล แม่น้ำลำคลอง หรือการปนเปื้อนของขยะพลาสติกกลับไปสู่สิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ อาทิเช่น ในประเทศอังกฤษนั้น จะมีการเก็บภาษีเพิ่มเติม กับบริษัทที่ผลิต ผลิตภัณฑ์ packaging พลาสติก ซึ่งมีส่วนผสมของพลาสติกรีไซเคืล น้อยกว่า 30% … สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นเลยว่า สำหรับอุตสาหกรรมรีไซเคิลพลาสติกในประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น ข้อมูล tracebility ได้ถูกนำมาใช้กันอย่างมีมาจรฐานและจริงจังมากครับ

ที่นี้เรากลับมาที่ประเทศไทยของเรากันบ้างครับ หลังจากที่ผมอธิบายออกไปซะยืดยาว เพื่อที่จะให้ผู้อ่านได้เข้าใจในสิ่งใหม่ๆที่ยังไม่ค่อยแพร่หลายในประเทศไทย… หลายๆท่านอาจจะยังมีคำถามหรือยังสงสัยว่า!!! สำหรับในประเทศไทยของเราซึ่ง เรื่อง circular economy ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้ผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก ในหลายๆองค์กร และการใช้พลาสติกรีไซเคิล ยังเป็นไปเพื่อการลดต้นทุนเป็นหลักแล้ว เราจะรู้เรื่อง Traceability นี่ไปเพื่ออะไร?

ผมกล้าฟันธงเลยว่า อีกไม่นานเกินรอ ประเด็นเรื่อง Traceability นี้จะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในการผลิต ผลิตภัณฑ์พลาสติกสมัยใหม่ในประเทศไทยอย่างแน่นอนครับ สังเกตเห็นได้จากแบรนด์ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคแบรนด์ใหญ่ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์ พลาสติก อย่างเช่น โคคา โคล่า, บริษัทเครือสหพัฒนพิบูล หรือจะเป็น P&G ก็ดี ได้มีการใช้ข้อมูลตรงนี้กันอย่างกว้างขวางแล้ว… และสำหรับบริษัทอื่นๆอย่างเราๆท่านๆ นั้น ในความเห็นของผม เราสามารถเริ่มใช้ประโยชน์ข้อมูลตรงนี้ แบบง่ายๆเลย เช่น การระบุถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบพลาสติกรีไซเคิล ที่ซัพพลายเออร์มาส่งให้เราว่าผลิตมาจากผลิตภัณฑ์พลาสติกใช้แล้วประเภทไหน มีสารพิษ จำพวกโลหะหนักหรือสารอันตรายเจือปนมาไหม หรือในกระบวนการ หลอมเม็ดพลาสติก(reprocess)นั้น มีการใส่สารเคมีอะไรลงไปบ้าง

ซึ่งข้อมูลต่างๆเรานี้ เราในฐานะผู้ซื้อ ควรจะสอบถามกับซัพพลายเออร์ หรือมีวิธีการที่จะให้เขาระบุมาให้เราทราบในทุกๆ ล้อตการผลิตหรือการจัดส่ง ทั้งนี้อย่างน้อยๆ ณ ตอนนี้ ข้อมูล tracability แบบง่ายๆที่เราได้มา ก็สามารถใช้ประโยชน์ในการผลิต, การควบคุมคุณภาพในการผลิต หรือการปฏิบัติตามมารฐานผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ลูกค้าของเรากำหนดมาตรฐานมาให้ จริงๆไหมครับ

 

 

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://psmplasitech.com/5-checklist-buying-recycled-plastic/